มาทำความรู้จักไอคอนต่างๆ บนบรรจุภัณฑ์ประเภทกันเถอะ

Last updated: 25 ก.ค. 2566  |  335 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มาทำความรู้จักไอคอนต่างๆ บนบรรจุภัณฑ์ประเภทกันเถอะ

          กล่องบรรจุภัณฑ์สินค้า ต่างก็มีเครื่องหมายบรรจุภัณฑ์ปรากฏอยู่มากมาย รู้หรือไม่ว่าเครื่องหมายนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง สำหรับบอกวิธีการในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่ผู้ขนส่งได้รับทราบ เพื่อผู้ขนส่งจะได้จัดการกับกล่องบรรจุภัณฑ์สินค้าได้อย่างถูกต้องและเป็นการป้องกันสินค้าพังหรือเสียหายอีกด้วย หลายคนคงคุ้นตากับเครื่องหมายบางชนิดมาบ้างแล้ว แต่ก็มีอีกหลายเครื่องหมายที่ไม่ค่อยได้พบเจอได้ง่ายนักและอาจยังไม่ทราบถึงความหมาย หรือใช้ประโยชน์อย่างไร ทางเราจึงได้รวบรวมเครื่องหมายบรรจุภัณฑ์เบื่องต้นที่ควรทราบมายกตัวอย่าง


1.        เครื่องหมายห้ามซ้อนทับหรือวางทับ (Do not stack)


          หมายถึง สินค้าที่อยู่ในกล่อง หีบห่อ หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ ห้ามวางซ้อนหรือวางทับกัน เพราะอาจจะทำให้สิ่งของด้านในเกิดความเสียหายได้ มักจะใช้กับสินค้าบอบบาง สารเคมีหรือป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน

2.      เครื่องหมายนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (Re-Use)

หมายถึง สามารถนำกล่องบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อกลับมาใช้ซ้ำได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

3.      เครื่องหมายห้ามเหยียบสินค้า (No stepping on)

          หมายถึง ห้ามเหยียบสินค้ามักจะระบุไว้บนกล่องบรรจุภัณฑ์ ที่บรรจุสินค้าที่เสียหายง่าย และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าภายในกล่องหากเหยียบ หรือขึ้นไปยืนบนกล่องบรรจุภัณฑ์ เครื่องหมายนี้ให้ใช้ล้อเข็นเท่านั้น

4.      เครื่องหมายรูปมือ (Handle with care)

หมายถึงให้ดูแลสินค้าให้ดีคล้ายๆกับ Fragile แค่สินค้าชนิดนี้จะไม่แตกหักง่าย แต่จะแสดงให้ทราบว่าควรขนย้ายสินค้าอย่างระมัดระวัง

5.      เครื่องหมายลูกศรชี้ขึ้นด้านบน (This side up)

          หมายถึง เครื่องหมายหันด้านที่มีลูกศรขึ้นมักจะพบเห็นได้ทั่วไปตามบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นประจำอยู่แล้วและทุกคนคงจะรู้จักมันดี ความหมายก็คือให้หันด้านที่มีหัวลูกศรชี้ขึ้นด้านบนเสมอ

6.     เครื่องหมายรูปแก้วแตก (Fragile)

หมายถึง สินค้าด้านในบอบบาง มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแตกหักง่าย ห้ามกระแทกหรือโยน

7.      เครื่องหมายรูปร่ม (Keep dry)

หมายถึง สินค้าภายในห้ามให้ถูกน้ำหรืออยู่ในที่ชื้น

8.     เครื่องหมายวางสินค้าทับซ้อนกันได้ (MAX . . LAYER)

          หมายถึง สินค้านี้สามารถวางซ้อนหรือทับกันได้ แต่ส่วนมากจะระบุจำนวนน้ำหนักที่สามารถรับได้ แจ้งไว้ด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันความเสียหายจากหีบห่อ  แต่ห้ามซ้อนสินค้าชนิดนี้เกินจำนวนชั้นที่กำหนดไว้

9.     เครื่องหมายเปลวไฟ (Flame)

          หมายถึง วัตถุไวไฟ ระบุไว้เพื่อแสดงให้ทราบว่าสินค้าที่อยู่ในกล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นวัตถุที่ติดไฟง่าย ควรวางให้ห่างจากสินค้า หรือสถานที่ที่คาดว่าจะก่อให้เกิดประกายไฟง่าย  เพื่อป้องกันอันตราย และความเสียหายอันมาจากเพลิงไหม้

10.  เครื่องหมายหัวกระโหลก มีกระดูกไขว้กัน

          หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสารเคมี ระบุไว้ให้ผู้ที่พบเห็นกล่องกระดาษหรือกล่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความระมัดระวังในการขนย้าย หรือไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดการระคายเคืองจากสารเคมีที่เป็นส่วนผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ

11.     เครื่องหมายการระเบิด

          หมายถึง กล่องบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ ซึ่งอาจจะระเบิดได้ด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นสัญลักษณ์นี้ควรระมัดระวังในการเข้าใกล้หรือเคลื่อนย้าย

12.   เครื่องหมายห้ามใช้ตะขอในการเคลื่อนย้าย

          หมายถึง ห้ามใช้ตะขอในการเคลื่อนย้าน เนื่องจากอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายบรรจุภัณฑ์ รวมปถึงสินค้าในบรรจุภัณ์นั้น สัญลักษณ์นี้มักจะระบุไว้บนก่องบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก  ไม่สามารถยกหรือเคลื้อนย้านได้ด้วยตัวให้ ต้องใช้รถเข้นยกเพื่อทำการเคลื่อนย้าย หรือเพื่อการขนส่งเท่านั้น

13.   เครื่องหมายสารเคมีหยดใส่สิ่งของหรือมือ

หมายถึง สารเคมีอันตรายที่สามารถกัดกร่อนโลหะ, ทำลายดวงตาอย่างรุนแรงหรือกัดกร่อนผิวหนังได้

14.   เครื่องหมายต้นไม้และปลา

หมายถึง ความเป็นอันตรายเฉียบพลันต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำหรือความเป็นอันตรายระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ

15.   เครื่องหมายรูปคน

          หมายถึง สารซึ่งสามารถก่อมะเร็ง ซึ่งไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจ, การก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ หรือความเป็นพิษต่ออวัยวะอย่างเฉพาะเจาะจงจากการสัมผัสครั้งเดียว

 

 

 

แหล่งอ้างอิง :  lissom-logistics.co.th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้